top of page

ความขัดแย้งในคริสตศตวรรษที่ 20

                  การปฏิวัติอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาการของโลกในคริสต์สตวรรษที่ 19 ทำให้โลกก้าวหน้ามากขึ้น มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้และปรับปรุงการคมนาคมที่อำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม อันมีผลทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติมหาอำนาจ และเริ่มแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเล อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 โดยการล้มล้างสถาบันกษัตริย์แล้วตั้งรัฐบาลที่มาจากประชาชน ตลอดจนการปฏิวัติของชาวอเมริกัน เพื่อแยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษใน ค.ศ. 1776 รวมทั้งความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ด้านพาณิชกรรมและลัทธิจักรวรรดินิยมได้มีส่วนกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ การเกิดสงครามโลก ซึ่งผลของสงครามก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจและการแย่งชิงทรัพยากรหรือดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุมาจากการแข่งขันทางการเมืองเพื่อความเป็นใหญ่ในภูมิภาค เช่น นโยบายสร้างฝรั่งเศสในสมัยนโปเลียน นโยบายสร้างเยอรมนีให้ยิ่งใหญ่ เป็นต้น หรืออาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางศาสนาและการเมือง ทางด้านศาสนา เช่น สงครามครูเสดระหว่างศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามใน

คริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางด้านการเมือง เช่น ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น ทั้งนี้ความขัดแย้งที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เกิดขึ้นจากการยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดสงครามขึ้น ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

รายวิชา ประวัติศาสตร์สากล   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
bottom of page